บทที่ 10 กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่  10 


กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 


1. ทำไมต้องมีการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


- สังคมสารสนเทศเป็นสังคมใหม่

- การอยู่ร่วมกันจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์


2. กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


- โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ( กสทช )  ไดทำการศึกษาและยกรางกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่

- กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาดเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆ  เช่น การลงลายมือชื่อ การรับฟังพยานหลักฐาน

- กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใดๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา

- กฎหมายเกียวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

- กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิ และให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


- กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กำหนดมาตรการทางอาญา ในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบข้อมูล

- กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์

กำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงิน

3. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พศ. 2544 


เหตุผลในการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พ.ศ. 2544” คือเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญาให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ ได้แก่การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อกล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้วกฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วเป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด สรุปเนื้อหาโดยย่อดังนี้

หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 7 - 25)
การรับรองรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการรับ การส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือ (มาตรา 8)การยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) ให้ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามกฎหมายหากใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 9)การนำเสนอและเก็บรักษาข้อความที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต้นฉบับเอกสาร(มาตรา 10, 12)การรับ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา15-24)ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำตามวิธีการที่น่าเชื่อถือ(มาตรา 25)

หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 26 - 31) (กรุณาดู หัวข้อ 6.4และ 6.6)

หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 32 - มาตรา 34) 

หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ(มาตรา 35) 

หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 36 - 43)
หมวด 6 บทกำหนดโทษ (มาตรา 44 - 46)

4. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

สามารถใช้แทนลายมือชื่อในสัญญาได้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

คำว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ตามพระราชบัญญัติ นี้หมายถึง

“ อักษร อักขระ ตัวเลขเสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ” (มาตรา 4)
จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปลักษณะของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์”ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้ดังนี้

1. เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์

มีความหมายต่างจากลายมือชื่อตามกฎหมายเดิมคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9

2. วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ

เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นแม้ว่าจะมีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ข้างต้นก็ตาม แต่ลายมือชื่อฯที่จะถือเป็นลายมือชื่อที่มีผลทางกฎหมาย จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ (มาตรา 9) คือ

“ (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ

และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตนและ

(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี ”

ลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือ

มาตรา 25, มาตรา 26 และมาตรา 29

คู่กรณีที่เกี่ยวข้องยังสามารถใช้วิธีการใดๆ

ที่เข้าลักษณะและเงื่อนไขของกฎหมายได้ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดลักษณะของลายมือชื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้

แต่ก็ไม่ควรจำกัดการใช้เทคโนโลยีใดโดยเฉพาะตามหลักการเรื่อง ‘Technology

Neutrality’ คือการไม่ถือเอาเทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใด

เป็นเกณฑ์พิจารณาความน่าเชื่อถือว่าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งบทบัญญัติ

มาตรา 26 ก็หาได้ระบุจำกัดวิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้ไม่



4 . พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550




log_plb.jpg (694×496)



5. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์


- จัดออกเป็น 9 ประเภท


- การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ


- อาชญากรนำเอาระบบสื่อสารมาปกปิดความิดของตนเอง


- การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปลงรูปแบบ


- ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพเสียงลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม


- ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน


- อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาธาณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ ไฟ การจราจร


- หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม


- แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ  เช่น ลักลอบค้นหารหัสบัตร


- ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินผู้อื่นเข้าของตนเอง



6. คำแนะนำเพื่อป้องกันการกระทำความผิด 



- เราควรติดตั้งไฟล์วอลล์ส่วนตัวโดยสามารถดาวโหลดได้จากเว็บ


- ไม่เปิดเผยข้อมูลเกินความจำเป็น


- หลีกเลี่ยงการส่งข้อความฉับพลัน


- ระมัดระวังโฆษณาชวนเชื่อ


- ไม่ควรส่งอีเมลตอบกลับที่สแปมมา


- สามารถโหลดโปรแกรมสปายแวรืมาใช้งาน



7. จริยธรรมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 



- มีความรับผิดชอบ


- มีความจิงใจ


- มีคุณภาพ


- ทำตามระเบียบของสังคม


- มีประโยชน์ต่อสังคม



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปเนื้อหาบทที่ 6 โลกไร้พรมแดน

สรุปเนื้อหาบทที่ 1 เทคโนโลยี ล้ำๆ รอบตัวเรา

สรุปเนื้อหาบทที่ 3 แกดเจ็ต