สรุปเนื้อหาบทที่ 1 เทคโนโลยี ล้ำๆ รอบตัวเรา

บทที่ 1

เทคโนโลยี ล้ำๆ รอบตัวเรา


       เทคโนโลยีรอบตัวเรา 






ตื่นนอน : Smart sleep system




Withings AURA Smart Sleep System

     ชุดการนอนหลับสมบูรณ์แบบ Withings Aura เป็นระบบที่จับการนอนหลับ และพยายามจะปรับปรุงการนอนของเราให้ดีขึ้น โดยการนำวัสดุไปใส่ไว้ใต้เตียง และมีโคมไฟเล็ก ๆ พร้อมลำโพงคุณภาพสูง ทำงานร่วมกับ Smartphone ครับ ตัว Aura จะปลุกเราโดยอิงจาก Body Clock ที่จับการนอนของเราในทุกวัน ว่าเราจะตื่นตอนไหน ยังไง 
ทั้งยังมีอุปกรณ์จับเสียง อุณหภูมิและระดับความสว่าง เพื่อเชื่อมโยงกันหาว่าเราจะนอนหลับสบายที่สุด ภายใต้สภาพแวดล้อมแบบไหน ช่วยให้เราเข้าใจภาวะการนอนของเรา และปรับปรุงมันให้ดียิ่งขึ้นครับ สินค้าระดับนี้ จึงเหมาะกับคนที่จริงจังเรื่องการนอนจริงๆ

เตรียมเดินทาง : พยากรณ์อากาศ และ ข่าวสาร 













เดินทาง : GPS

GPS ย่อมาจาก Global Positioning Systemหมายถึง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
เครื่องรับ GPS จะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสัญญาณดาวเทียมเป็นตำแหน่ง (X,Y,Z) ความเร็ว (Speed) และ เวลา (Time) และต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวงในการระบุตำแหน่ง GPS ประกอบด้วยทั้งหมด 3 ส่วน คือ ส่วนอวกาศ ส่วนควบคุม และ ส่วนผู้ใช้
เมื่อนำมาประยุกต์เข้ากับระบบ Microcontroller อุปกรณ์ประกอบ(I/O) และระบบ Communication network เราจึงสามารถนำอุปกรณ์ GPS เข้ามาทำงานต่างๆที่สัมพันธ์กับตำแหน่งได้ [อุปกรณ์แต่รุ่นมีความสามารถไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งาน]

ประโยชน์ของเครื่อง GPS(Application)

  • - ใช้นำทางไปยังตำแหน่งเป้าหมาย
  • - ใช้ติดตามการเคลื่อนที่ของ คน สัตว์ สิ่งของ
  • - ใช้ติดตามการเช่ารถ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • - ประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรในการเกษตร
  • - ประยุกต์ใช้กับระบบจราจร
  • - อ้างอิงในการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก
  • - ออกแบบเครือข่ายและคำนวณตำแหน่งที่ตั้ง
  • - ใช้ติดตามตรวจสอบความปลอดภัย
  • - การนำทางสามารถนำทางได้ทั้งภาพและเสียง
  • - การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
  • - กำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัยเช่นติดที่เสื้อชูชีพ
  • - การวางผังสำหรับการจัดส่งสินค้า
  • - นำไปใช้ในการติดตามบุคคล การค้าค้ายาเสพย์ติด
  • - นำไปใช้ประโยชน์ทางการทหาร
  • - ติดตามยานพาหนะและตรวจสอบการทำงานของเครื่องกลหนัก เช่น รถ Back hoe , รถตักดิน ฯล


เข้าหอพัก : Smartcard , RFID

คุณสมบัติ บัตรอาร์เอฟ ไอดีการ์ด (RFID Card) หรือ บัตรสมาร์ท การ์ด (Smart Card) คลื่นต่ำ ภาษาทางท้องตลาดทั่วไป อาจเรียกว่า บัตรพรอกซิมิตี้การ์ด (Proximity Card) หรือ บัตร Prox ที่เรียกสั้นๆ เป็นบัตร RFID ที่อ่านระยะใกล้ เรียกได้ว่าเป็นการแตะบัตรกับตัวอ่าน Reader card เลยที่เดียว เป็นบัตรแบบอ่านอย่างเดียว ไม่สามารถ Key เก็บข้อมูลในตัวบัตรได้ ข้อมูลในบัตรจะเป็นตัวเลข ที่เราเรียกว่า Unit Number คือตัวเลขที่ไม่ซ้ำกัน การใช้งานทั่วไปมักจะนำมาใช้กับ บัตรนักเรียก บัตรนักศึกษา บัตรเข้าออกพนักงาน บัตรเข้าออกอาคาร หรือ บัตรเข้าออกอาพาร์ทเม้น สามารถนำมาพิมพ์ 4 สีกับเครื่อง Card Printer ได้ สำหรับบัตร Proximity ที่ทางบริษัทฯ จำหน่ายมีทั้งแบบขาวเปล่าที่พิมพ์ Number บนบัตร และ ขาวเปล่าที่ไม่พิมพ์ตัวเลขบนบัตร ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปพิมพ์ 4 สีต่อไป

Smart Home 

Smart Home หรือ "บ้านอัจฉริยะ" คือ การนำเทคโนโลยีควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติมาควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้าน หรือ "Home Automation Systems" โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกนำมาควบคุมได้แก่ ไฟแสงสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ม่านไฟฟ้า กล้องวงจรปิด ระบบสัญญาณเตือนภัย กลอนประตูดิจิตอล มอเตอร์ประตูไฟฟ้า เป็นต้น
การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆจะทำผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ที่อาจเป็นได้ทั้งโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน สมาร์ทแท็บเล็ต หรือชุดรีโมท โดยการควบคุมทำงานจะทำบนเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย ซึ่งสามารถส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของระบบโดยตรง หรือส่งสัญญาณผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของระบบจะทำหน้าที่กระจายสัญญาณและรับสัญญาณจากอุปกรณ์ Smart Home อื่นๆอีกทีหนึ่ง  
การควบคุมการทำงานของระบบ Smart Home จะมีฟังก์ชั่นหลักที่สำคัญ ได้แก่ การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์โดยตรงทั้งจากระยะใกล้และระยะไกล(Remote Control) การตั้งเวลาการทำงานของอุปกรณ์(Timing Control) การตั้งระบบแจ้งเตือน(Sound&Message Notification) การสร้างเงื่อนไขการทำงานให้อุปกรณ์หนึ่งส่งคำสั่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง(Linkage Control) และการสั่งงานให้ระบบหลายๆระบบ ทำงานพร้อมกันด้วยการกดครั้งเดียว(Scene Control หรือ One Touch Control)  สิ่งที่ผู้ใช้งานระบบ Home Automation จะได้รับจากบ้านอัจฉริยะนั้น ก็คือ ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย บรรยากาศที่ดีภายในที่พักอาศัย รวมถึงช่วยในการประหยัดพลังงานด้วย





เข้ามหาวิทยาลัย : Smart Library 


ห้องสมุดคือบ้านของนักอ่าน และห้องเรียนประสบการณ์ผ่านตัวหนังสือของคนทุกช่วงวัย หากสถานที่เหล่านี้ได้รับการออกแบบที่เหมาะสม จะสามารถพัฒนาการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดได้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำแนวคิด Smart Library มาออกแบบห้องสมุดเก่า เพื่อดึงดูดนักศึกษาให้เข้าใช้บริการมากขึ้น ห้องสมุด 2 ชั้น ถูกนำมาปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย หลังเปิดใช้งานนานกว่า 40 ปี พบว่ามีพื้นที่น้อย ไม่ดึงดูดนักอ่านและขัดกับจุดประสงค์การใช้ห้องสมุดในปัจจุบันเพราะร้อยละ 38 จะอ่านหนังสือและทำการบ้าน ร้อยละ22 เข้ามาพักผ่อนฟังเพลง หรือร้อยละ 20 นิยมใช้ห้องสมุดเป็นที่ประชุมย่อย
Screen Shot 2558-11-23 at 10.39.58 หลังเที่ยง 


Screen Shot 2558-11-23 at 10.39.35 หลังเที่ยง


จากความต้องการของนักศึกษา ถูกแปลงเป็น 9 โซนในห้องสมุดใหม่ อาทิ โซน The Box ใช้ดูสื่อและเรียนภาษาอังกฤษ โซน Group Study room ห้องกระจกเก็บเสียงหรือโซน Relax Lobby มีโซฟาสำหรับพักผ่อน ส่วนบรรณารักษ์จะคอยเตรียมหนังสือที่ใช้เป็นประจำไว้คอยบริการ คณบดีบอกว่า เด็กจำเป็นต้องมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการพูดคุยหารือ ซึ่งจะช่วยต่อยอดความคิดและนำความรู้ไปพัฒนาสังคมต่อไป 

เข้ามหาวิทยาลัย : E - learning

 คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 

          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้




พักผ่อน : Smart phone app 

1. โปเกมอน โก (Pokemon Go) คืออะไร?


         โปเกมอน โก เป็นเกมที่ถูกพัฒนาให้เล่นบนมือถือ โดยทางนินเทนโดและ สตูดิโอไนแอนติก (Niantic) (ผู้สร้างเกม Ingress บนสมาร์ทโฟนซึ่งใช้คุณสมบัติการจับตำแหน่ง GPS เป็นตัวหลัก)
โดยจากเดิมที่ทำการค้นหาโปเกมอน จับมาฝึก แลกเปลี่ยนและต่อสู้กันบนตัวเกม แต่คราวนี้ โปเกมอน โก จะเป็นเกมที่ซ้อนกับโลกจริง ผู้เล่นต้องใช้มือถือสมาร์ทโฟนเพื่อใช้ในการออกค้นหาโปเกมอนจากสถานที่ในโลกจริง โดยการใช้กล้องมือถือในการส่องหาโปเกมอนในที่ต่างๆ และค่อยใช้มือถือในการจับโปเกมอน หลังจากนั้นค่อยนำมาฝึก แลกเปลี่ยน และต่อสู้กันกับผู้เล่นคนอื่นๆ
จุดเด่นของโปเกมอน โก ที่ทำให้ได้รับความนิยมก็คือ การให้ผู้เล่นเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ในโลกจริง เพื่อทำการ”จับ”โปเกมอน โดยประเภทของโปเกมอน ก็จะแตกต่างไปตามสถานที่จริง เช่น ถ้าเป็นโปเกมอนสายพันธุ์น้ำ ก็ต้องไปหาจับตามที่ใกล้แหล่งน้ำ หรือหากเป็นโปเกมอนที่อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ผู้เล่นก็จะต้องไปตามจับในที่รกร้างหรือที่กว้างๆ
และการฟักไข่โปเกมอน ผู้เล่นจะต้องทำการเดินหรือขี่รถจักรยาน เพื่อเร่งการฟักไข่ด้วย





2. augmented reality

    Augmented Reality หรือ AR เป็นเทคโนโลยี ที่ถูกคิดค้นมานานแล้วตั้งแต่สมัยปี ค.ศ. 2004 โดยมีแนวคิดในการเอาภาพกราฟิกมาวางซ้อนทับลงบนภาพที่ถ่ายลงบนวิดีโอ หรือจอภาพที่เรากำลังส่องอยู่ เป็นผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน แต่ว่าเนื่องจากในสมัยนั้น เทคโนโลยีในการใช้งานนั้นยังไม่พร้อม ต่างจากปัจจุบันที่มีสมาร์ทโฟนเข้ามา เติมเต็มในความพร้อมที่ยังไม่มีในสมัยนั้น แต่ก็นั่นแหละมันเป็น Augmented Reality ในเชิงเทคโนโลยี







ออกกำลังกาย : Wearable Tech

          Wearable หรืออุปกรณ์สวมใส่นั้นตามที่กล่าวตอบไว้แล้วและหลาย ๆ คนรู้จักดีอย่าง Smartwatch ที่ คนในยุคไอทีอยากได้มาใช้งานโดยมีประโยชน์ในด้านช่วยให้คนเราที่รักสุขภาพหรือรักการออกกำลังกายได้รับรู้ว่าแต่ล่ะวันใช้พลังงานไปกี่แคลโลรี่ เดินวิ่งไปกี่ก้าว นอนไปกี่ชั่วโมง หรือตั้งเวลากำหนดแจ้งเตือนหรือใช้งานร่วมกับ Smart Phone เพื่อช่วยแจ้งเตือนนัดหมาย แจ้งเตือนว่ามีมิสคอลกี่สาย มีแมสเซสข้อความเข้ามันก็ช่วยให้เราคล่องตัวขึ้นแต่นั้นมันไม่ได้เหมาะกับคนทุกคนเพราะ Life Style แต่ล่ะคนต่างกันไปอีกอย่างเจ้าตัว Wearable ในยุคไอทีมีความเกี่ยวข้องกับงานด้านแฟชั่นรวมอยู่ด้วยตัวอย่าง Wearable ที่เกิดขึ้นมาสำหรับผู้ชื่นชอบออกกำลังกายและเป็นจุดเริ่มต้นก็คงเป็นอุปกรณ์ของไนกี้คือ Nike+ FuelBand



ช้อปปิ้ง : E-commerce 


    E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)
จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business
โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น  






สุขภาพ : E- Hospital 


        โปรแกรมที่ใช้ในการบริหารโรงพยาบาล รองรับการทำงานทั้งในส่วนของ OPD และ IPD โดยการสนับสนุนจากชมรมข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บนหลักการโอเพนซอร์ส ซึ่งจะเป็นสาธารณสมบัติที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ นอกจากนี้โปรแกรมยังสามารถใช้งานได้กับทุกระบบปฏิบัติการบนพื้นฐาน Java และซอฟต์แวร์ที่เป็นโอเพนซอร์สอื่น ๆ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลชุมชนกว่า 60-80 แห่งทั่วประเทศที่ติดตั้งใช้งานอยู่ ซึ่งสามารถ Download คู่มือและโปรแกรมแกรมได้ทางเว็บไซต์ Hospital-OS.com






ประโยชน์ของเทคโนโลยี



-1 ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวน

-2 เพิ่มความสะดวกสะบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก

-3 เป็นแหล่งความบันเทิง

-4 ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเฎลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmade

 คืองานชิ้นเดียวในโลก

-5 ลดต้นทุนการผลิต

-6 ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

-7 ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาศ

-8 ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น

-9 ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น

-10 ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น

-11 ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ



โทษของเทคโนโลยี



-1 สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ

-2 เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม 

-3 ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย

-4 ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน

-5 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat

-6 หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น 
โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปเนื้อหาบทที่ 6 โลกไร้พรมแดน

สรุปเนื้อหาบทที่ 3 แกดเจ็ต